ประวัติความเป็นมาของชุมชนวัวลายและเครื่องเงินวัวลาย
ชุมชนวัวลายเริ่มมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการผลิตเครื่องเงินตั้งแต่ พ.ศ.1839 หรือตั้งแต่สมัยของพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ในช่วงเวลานั้น พญามังรายได้ทำการเจรจากับพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องกษัตริย์ของพม่า เพื่อทำการขอช่างฝีมือ ได้แก่ ช่างเงิน ช่างทอง ช่างฆ้อง ช้างต้อง ช่างแต้ม มายังเมืองเชียงใหม่ เพื่อเป็นเงื่อนไขในการเจรจาอย่างศึกเนื่องจากพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงชราภาพแล้วไม่สามารถทำศึกกับพญามังรายได้ ด้วยเหตุนี้พญามังรายจึงได้ช่างฝีมือมาที่เมืองเชียงใหม่จากหลากหลายชนเผ่าด้วยกัน เช่า เผ่าไทยใหญ่ เผ่าเขิน เผ่ามอญ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มเผ่าไทยใหญ่เป็นกลุ่มช่างที่มีฝีมือในการทำเครื่องเงิน (มนัส ผลาหาญ,2556) ซึ่งเหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เชียงใหม่มีรากฐานของงานฝีมือของเครื่องเงินตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา
หลังจากนั้นในสมัยรัชการที่ 9 เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินชุมชนวัวลายเพื่อทอดพระเนตรการสาธิตขั้นตอนการผลิตเครื่องเงินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนฯและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ์ในขณะนั้น ซึ่งในการเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนี้ พระราชอาคันตุกะ สมเด็จพระเจ้ากรุงเดนมาร์คและสมเด็จพระราชินีอินกริดแห่งกรุงเดนมาร์คได้เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทอดพระเนตรการสาธิตขั้นตอนการผลิตเครื่องเงินด้วยเช่นกัน จนเมื่อ พ.ศ. 2534 ช่างเครื่องเงินในชุมชนวัวลายได้ร่วมใจกันจัดสร้างสลุงหลวง (ขันเงิน) ในนามจังหวัดเชียงใหม่เพื่อเฉลิมพระเกียรติยมเด็จพระเทพรัตนราสุดาสยามบรมราชกุมารีในวาระที่ทรงมีพระชนมายุครบ 3 รอบ ต่อมาปี พ.ศ. 2535 ได้มีการจัดทำ สลุงหลวงแม่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในสาระที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ และต่อมาได้มีการจัดทำ สลุงหลวงพ่อ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในปี 2539 เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 50 ปี หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2552 ได้มีการจัดสร้าง เรือบุญบารมีสุพรรณหงส์ล้านนา โดยชมรเครื่องเงินบ้านวัวลายและกลุ่มพัฒนาสืบสานเครื่องเงินบ้านวัวลายร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่เพื่อถวายแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชการที่ 9 เนื่องในวโรกาสมหามงคลที่พระองค์ครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
ร้านเครื่องเงินวัวลาย เริ่มกิจการประมาณ ปี 2542 ในนาม ศ.เจริญ จิวเวลรี่ แอนด์ ทูลส์ ในปี 2557 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในนาม
เครื่องเงินวัวลาย ดำเนินกิจการมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีสล่าประจำร้าน (สล่า : หมายถึงช่าง ที่มีความชำนาญสูงอยู่กับสิ่งที่ทำมาอย่างยาวนาน เช่น สล่าแกะสลักไม้ สล่าช่างปั้น สล่าเครื่องเงิน เป็นต้น สล่า มีความยิ่งใหญ่ในตัวเอง เพราะต้องมีความปราณีตในการทำงาน รอบคอบ มีความเข้าใจประเพณี และวัฒนธรรม พิธีกรรม วิถีชีวิต ของวิชาชีพตัวเองเป็นอย่างดี) ในการทำเครื่องเงิน ทั้งที่เป็นเครื่องประดับ และภาชนะเครื่องใช้ และอื่นๆ
ร้าน เครื่องเงินวัวลาย ผลิตและจำหน่ายเครื่องประดับและอัญมณี ที่ทำด้วยทองคำ โลหะเงิน และงานหัตถกรรมเครื่องโลหะ ของขวัญของชำร่วย ของที่ระลึกจากโลหะทุกชนิด อีกทั้งยังจำหน่าย วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรในการผลิตเครื่องประดับอีกด้วย
ชุมชนบ้านวัวลายมีต้นกำเนิดมาจากการรวมตัวของสามชุมชนด้วยกันคือ
[1] ชุมชนวัดหมื่นสาร [2] ชุมชนวัดศรีสุพรรณ [3] ชุมชนวัดนันทาราม
นอกจากความมีชื่อเสียงในฐานะแหล่งผลิตและจำหน่ายสินค้าเครื่องเงินที่มีประวัติศาสตร์อย่างยาวนานและมีความเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์เฉพาะตัว ชุมชนวัวลายยังมีเกียรติประวัติจากการรับเสด็จถวายงานแด่กษัตริย์และพระราชวงศ์จักรีจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีปรากฏหลักฐานการเสด็จเยือนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เมื่อ พ.ศ.2488 พระองค์ได้เสด็จฯมาทอดพระเนตร ช่างปั้น ช่างสาน ช่างเงินบ้านวัวลาย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินเยือนจังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการคัดเลือกช่างเงินของชุมชนวัวลายไปทำการสาธิตขั้นตอนการผลิตเครื่องเงินถวายให้ทรงทอดพระเนตร
ที่บริเวณหน้าวัดศรีสุพรรณ
ประวัติความเป็นมาของชุมชนวัวลายและเครื่องเงินวัวลาย
ชุมชนวัวลายเริ่มมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการผลิตเครื่องเงินตั้งแต่ พ.ศ.1839 หรือตั้งแต่สมัยของพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ในช่วงเวลานั้น พญามังรายได้ทำการเจรจากับพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องกษัตริย์ของพม่า เพื่อทำการขอช่างฝีมือ ได้แก่ ช่างเงิน ช่างทอง ช่างฆ้อง ช้างต้อง ช่างแต้ม มายังเมืองเชียงใหม่ เพื่อเป็นเงื่อนไขในการเจรจาอย่างศึกเนื่องจากพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงชราภาพแล้วไม่สามารถทำศึกกับพญามังรายได้ ด้วยเหตุนี้พญามังรายจึงได้ช่างฝีมือมาที่เมืองเชียงใหม่จากหลากหลายชนเผ่าด้วยกัน เช่า เผ่าไทยใหญ่ เผ่าเขิน เผ่ามอญ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มเผ่าไทยใหญ่เป็นกลุ่มช่างที่มีฝีมือในการทำเครื่องเงิน (มนัส ผลาหาญ,2556) ซึ่งเหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เชียงใหม่มีรากฐานของงานฝีมือของเครื่องเงินตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา
หลังจากนั้นในสมัยรัชการที่ 9 เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินชุมชนวัวลายเพื่อทอดพระเนตรการสาธิตขั้นตอนการผลิตเครื่องเงินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนฯและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ์ในขณะนั้น ซึ่งในการเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนี้ พระราชอาคันตุกะ สมเด็จพระเจ้ากรุงเดนมาร์คและสมเด็จพระราชินีอินกริดแห่งกรุงเดนมาร์คได้เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทอดพระเนตรการสาธิตขั้นตอนการผลิตเครื่องเงินด้วยเช่นกัน จนเมื่อ พ.ศ. 2534 ช่างเครื่องเงินในชุมชนวัวลายได้ร่วมใจกันจัดสร้างสลุงหลวง (ขันเงิน) ในนามจังหวัดเชียงใหม่เพื่อเฉลิมพระเกียรติยมเด็จพระเทพรัตนราสุดาสยามบรมราชกุมารีในวาระที่ทรงมีพระชนมายุครบ 3 รอบ ต่อมาปี พ.ศ. 2535 ได้มีการจัดทำ สลุงหลวงแม่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในสาระที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ และต่อมาได้มีการจัดทำ สลุงหลวงพ่อ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในปี 2539 เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 50 ปี หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2552 ได้มีการจัดสร้าง เรือบุญบารมีสุพรรณหงส์ล้านนา โดยชมรเครื่องเงินบ้านวัวลายและกลุ่มพัฒนาสืบสานเครื่องเงินบ้านวัวลายร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่เพื่อถวายแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชการที่ 9 เนื่องในวโรกาสมหามงคลที่พระองค์ครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
ร้านเครื่องเงินวัวลาย เริ่มกิจการประมาณ ปี 2542 ในนาม
ศ.เจริญ จิวเวลรี่ แอนด์ ทูลส์ ในปี 2557 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใน
นาม
เครื่องเงินวัวลาย ดำเนินกิจการมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีสล่าประจำร้าน (สล่า : หมายถึงช่าง ที่มีความชำนาญสูงอยู่กับสิ่งที่ทำมาอย่างยาวนาน เช่น สล่าแกะสลักไม้ สล่าช่างปั้น สล่าเครื่องเงิน เป็นต้น สล่า มีความยิ่งใหญ่ในตัวเอง เพราะต้องมีความปราณีตในการทำงาน รอบคอบ มีความเข้าใจประเพณี และวัฒนธรรม พิธีกรรม วิถีชีวิต ของวิชาชีพตัวเองเป็นอย่างดี) ในการทำเครื่องเงิน ทั้งที่เป็นเครื่องประดับ และภาชนะเครื่องใช้ และอื่นๆ
ร้าน เครื่องเงินวัวลาย ผลิตและจำหน่ายเครื่องประดับและอัญมณี
ที่ทำด้วยทองคำ โลหะเงิน และงานหัตถกรรมเครื่องโลหะ ของขวัญของชำร่วย ของที่ระลึกจากโลหะทุกชนิด อีกทั้งยังจำหน่าย วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรในการผลิตเครื่องประดับอีกด้วย
ชุมชนบ้านวัวลายมีต้นกำเนิดมาจากการรวมตัวของสามชุมชนด้วยกันคือ
[1] ชุมชนวัดหมื่นสาร [2] ชุมชนวัดศรีสุพรรณ [3] ชุมชนวัดนันทารามนอกจากความมีชื่อเสียงในฐานะแหล่งผลิตและจำหน่ายสินค้าเครื่องเงินที่มีประวัติศาสตร์อย่างยาวนานและมีความเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์เฉพาะตัว ชุมชนวัวลายยังมีเกียรติประวัติจากการรับเสด็จถวายงานแด่กษัตริย์และพระราชวงศ์จักรีจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีปรากฏหลักฐานการเสด็จเยือนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เมื่อ พ.ศ.2488 พระองค์ได้เสด็จฯมาทอดพระเนตร ช่างปั้น ช่างสาน ช่างเงินบ้านวัวลาย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินเยือนจังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการคัดเลือกช่างเงินของชุมชนวัวลายไปทำการสาธิตขั้นตอนการผลิตเครื่องเงินถวายให้ทรงทอดพระเนตร
ที่บริเวณหน้าวัดศรีสุพรรณ